บุญชม
ศรีสะอาด ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของระบบการเรียนการสอน ได้แก่ ตัวป้อน กระบวนการ
และผลิต ดังภาพต่อไปนี้
ตัวป้อน ( Input ) หรือ
ปัจจัยนำเข้าระบบ คือ ส่วนประกอบต่าง ๆ
ที่นำเข้าสู่ระบบได้แก่ ผู้สอน ผู้สอน ผู้เรียน หลักสูตร สิ่งอำนวยความสะดวก
ผู้สอน หรือครู เป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้การเรียนการสอนบรรลุผลตามวัตถุประสงค์
ซึ่งขึ้นอยู่กับคุณลักษณะหลายประการได้แก่คุณลักษณะด้านพุทธิพิสัย เช่น ความรู้
ความสามารถความรู้จำแนกเป็นความรู้ในเนื้อหาสาระที่สอน ความรู้ในเทคนิคการสอนต่าง
ความตั้งใจในการสอน ฯลฯ
ผู้เรียน เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบการเรียนการสอนซึ่งจะบรรลุผลสำเร็จได้ย่อมขึ้นอยู่กับคุณลักษณะของผู้เรียนหลายประการ
เช่น ความถนัด ความรู้พื้นฐานเดิม ความพร้อมความสนใจและความพากเพียรในการเรียนทักษะในการเรียนรู้
ฯลฯ
หลักสูตร เป็นองค์ประกอบหลักทีจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
หลักสูตรประกอบด้วยองค์ประกอบพื้นฐาน 4 ประการคือ
- วัตถุประสงค์การเรียนรู้
- เนื้อหาสาระที่เรียน
- กิจกรรมการเรียนการสอน
(รวมวิธีสอนและสื่อการเรียนการสอน)
- การประเมินผล
สิ่งอำนวยความสะดวก
อาจเรียกอีกอย่างว่า "สิ่งแวดล้อมการเรียน" เช่น ห้องเรียน สถานที่เรียน
ซึ่งประกอบด้วยโต๊ะ เก้าอี้ แสดงสว่าง ฯลฯ
กระบวนการ (Process)
ในระบบการเรียนการสอน
คือ การดำเนินการสอนซึ่งเป็นการนำเอาตัวป้อนเป็นวัตถุดิบในระบบมาดำเนินการเพื่อให้เกิดผลผลิตตามที่ต้องการ
ในการดำเนินการสอนอาจมีกิจกรรมต่าง ๆ หลายกิจกรรม ได้แก่ การตรวจสอบและเสริมพื้นฐาน
การสร้างความพร้อมในการเรียน การใช้เทคนิคการสอนต่าง ๆ และอาจใช้กิจกรรมเสริม การตรวจสอบและเสริมพื้นฐาน
เป็นกิจกรรมที่ทำให้ผู้สอนรู้จักผู้เรียนและได้ข้อสนเทศที่นำมาใช้ช่วยเหลือผู้เรียนที่ยังขาดพื้นฐานที่จำเป็นก่อนเรียน
ให้ได้มีพื้นฐานที่พร้อมที่จะเรียนโดยไม่มีปัญหาใด ๆ
การสร้างความพร้อมในการเรียน
เมื่อเริ่มชั่วโมงเรียน โดยทั่วไปแล้ว จะมีผู้เรียนที่ยังไม่พร้อมที่จะเรียน เช่น
พูดคุยกัน คิดถึงเรื่องอื่น ๆ ฯลฯ ถ้าผู้สอนเริ่มบรรยายไปเรื่อย ๆ
อาจไม่ได้ผลตามที่ต้องการโดยเฉพาะในช่วงต้นชั่วโมงนั้น จึงควรดึงความสนใจของผู้เรียนให้เข้าสู่การเรียนโดยเร็ว
ซึ่งทำได้หลายวิธี เช่น ใช้คำถามใช้สื่อโสตทัศนูปกรณ์ช่วยเร้าความสนใจ
หรือยกเรื่องที่เกี่ยวข้องมาเล่าให้นักเรียนฟัง
ในการสร้างความพร้อมไม่ควรใช้เวลามากเกินไป น่าจะใช้เวลาไม่เกิน 5 นาที และทำทุกครั้งที่สอน เมื่อพบว่าผู้เรียนยังไม่พร้อม
การใช้เทคนิคการสอนต่างๆ
ควรทำการสอนโดยใช้เทคนิค วิธีการ และกิจกรรมต่าง ๆ หลาย ๆ วิธีการใช้กิจกรรมเสริม
วิธีสอนแต่ละวิธีหรือรูปแบบการสอนแต่ละรูปแบบจะมีกิจกรรมแตกต่างกันไป
ผู้สอนควรพิจารณากิจกรรมต่าง
ๆ ที่จะเสริมกับวิธีสอน เช่น การให้ทำแบบฝึกหัด การให้การเสริมแรง
การใช้คำถามชนิดต่าง ๆ การทบทวนสรุป เป็นต้น
ผลผลิต คือ
ผลที่เกิดขึ้นในระบบซึ่งเป็นเป้าหมายปลายทางของระบบ สำหรับระบบการเรียนการสอนผลผลิตที่ต้องการก็คือ
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียนไปในทางที่พึงประสงค์ เป็นการพัฒนาที่ดีในด้าน
- พุทธิพิสัย (Cognitive)
- จิตพิสัย (Affective)
และ
- ทักษะพิสัย (Psychomotor)
การติดตามผล ประเมินผล
และปรับปรุง เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้สอนจะต้องพิจารณาองค์ประกอบต่าง
ๆ ทั้งหมดในระบบ โดยพิจารณาผลผลิตว่าได้ผลเป็นไปดังที่มุ่งหวังไว้หรือไม่มีจุดบกพร่องในส่วนใดที่จะต้องแก้ไข
ปรับปรุงบ้าง
กิดานันท์
มลิทอง.(2540). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ:ชวนพิมพ์.
ฉลอง
ทับศรี. (2542). การออกแบบการเรียนการสอนวิชา การออกแบบการเรียนการสอน (423511). มหาวิทยาลัยบูรพา. เอกสารการสอน
บุญเกื้อ ควรหาเวช.
(2543). นวัตกรรมการศึกษา.(พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ:SR Printing.
ผู้จัดทำ : นางสาวอภิสรา แก้วรักษา รหัส 5803012755 วิชาเอกภาษาอังกฤษ
นางสาวสุภาคินี ตาทา รหัส 5904029203 วิชาเอกเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
ผู้จัดทำ : นางสาวอภิสรา แก้วรักษา รหัส 5803012755 วิชาเอกภาษาอังกฤษ
นางสาวสุภาคินี ตาทา รหัส 5904029203 วิชาเอกเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น