รูปแบบการสอนโดยใช้รูปแบบจำลอง ASSURE MODEL
การวางแผนการใช้สื่อการสอน
ผู้สอนควรจะมีการวางแผนอย่างเป็นระบบ เพื่อให้การใช้สื่อบรรลุถึงวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่วางไว้
การวางแผนอย่างเป็นระบบนี้ เราสามารถใช้รูปแบบจำลองที่เรียกว่า “ASSURE MODEL” ของไฮนิคและคณะ (Heinich and others 1999) ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
A = ANALYZE LEARNER'S
CHARACTERISTICS
การวิเคราะห์พฤติกรรมเบื้องต้นและความต้องการของผู้เรียน
ที่สำคัญได้แก่
1. ข้อมูลทั่วไป เช่น
อายุ เพศ ระดับการศึกษา เจตคติ ระบบสังคม วัฒนธรรม
2.
ข้อมูลเฉพาะ
เป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการเรียนการสอน เช่น ประสบการณ์เดิม ทักษะ เจตคติ
ความรู้พื้นฐาน และความสามารถในการเรียน
การวิเคราะห์จะช่วยให้ผู้สอนสามารถตัดสินใจเลือกสื่อและจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม
S = STATE LEARNING OBJECTIVES
AND CONTENT การกำหนดจุดมุ่งหมาย
จุดมุ่งหมายการเรียนที่ดี ควรเป็นข้อความที่แสดงถึงลักษณะ สำคัญ 3 ประการคือ
1.
วิธีการปฏิบัติ PERFORMANCE
(ทำอะไร)
การเขียนจุดมุ่งหมายควรใช้คำกริยาหรือข้อความที่สังเกตพฤติกรรมได้ เช่น
ให้คำจำกัดความ อธิบาย บอก หรือจำแนก เป็นต้น
2. เงื่อนไข CONDITIONS (ทำอย่างไร) การเขียนจุดมุ่งหมายการเรียน
ควรกำหนดเงื่อนไขที่จำเป็น ภายใต้การปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ เช่น
บวกเลขในใจโดยไม่ใช้กระดาษ หรือ ผสมแป้งโดยใช้ช้อน
3. เกณฑ์ CRITERIA (ทำได้ดีเพียงไร) มาตรฐานการปฏิบัติ
ซึ่งควรตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง เช่น ระดับของความสามารถในการปฏิบัติ
ระดับของความรู้ที่จำเป็น เพื่อการศึกษาต่อในหน่วยการเรียนที่สูงขึ้นไป
S = SELECT, MODIFY OR DESIGN
MOTHODS AND MATERIALS การกำหนดสื่อการเรียนการสอน
อาจดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 ประการดังนี้ คือ
1.
การเลือกใช้สื่อการเรียนการสอน
2.
ดัดแปลงจากสื่อวัสดุที่มีอยู่แล้ว
3. การออกแบบสื่อใหม่
U = UTILIZE METHODS AND
MATERIALS
กิจกรรมการใช้สื่อการเรียนการสอน พิจารณาได้ 3 ลักษณะคือ
1. การใช้สื่อประกอบการสอนของผู้สอน
เช่น ประกอบคำบรรยาย และอธิบาย
2.
การใช้สื่อเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนของผู้เรียน เช่น ชุดการสอน บทเรียนด้วยตนเอง
3.
การใช้สื่อร่วมกันระหว่างผู้เรียนและผู้สอน เช่น เกม สถานการณ์จำลอง และการสาธิต
การมีส่วนร่วมของผู้เรียน การใช้สื่อการเรียนการสอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนให้มากที่สุด
R = REQUIRE LEARNER'S RESPONSE การกำหนดพฤติกรรมตอบสนองของผู้เรียน การเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพที่สุดนั้นผู้เรียนจะต้องมีปฏิกิริยาตอบสนอง
และมีการเสริมแรง การที่ผู้สอนให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีต่อการตอบสนองของผู้เรียนจะทำให้ผู้เรียนมีแรงจูงใจในการเรียน
E = EVALUATION การประเมินผล ควรพิจารณาทั้ง 3 ด้านคือ
1.
การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
2. การประเมินสื่อและวิธีใช้
3.
การประเมินกระบวนการเรียนการสอน
สรุป
จากรูปแบบจำลอง ASSURE MODEL จะเน้นถึงการวางแผนการใช้สื่ออย่างเป็นระบบในสภาพของห้องเรียนจริง
เพื่อให้ผู้สอนสามารถนำรูปแบบจำลองนี้ มาใช้วางแผนการสอนได้อย่างมีประสิทธิผล
ถ้าหากผู้สอนสามารถดำเนินการได้ตามกระบวนการได้ถูกต้องทุกขั้นตอนจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี
ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=Y1ZguR9TPhA
http://www.st.ac.th/av/inno_learnsyst.htm
http://52040337kanokphan.blogspot.com/2011/10/assure-model-assure-model-heinich.html
ผู้จัดทำ : นางสาวอภิสรา แก้วรักษา รหัส 5803012755 วิชาเอกภาษาอังกฤษ
นางสาวสุภาคินี ตาทา รหัส 5904029203 วิชาเอกเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
http://www.st.ac.th/av/inno_learnsyst.htm
http://52040337kanokphan.blogspot.com/2011/10/assure-model-assure-model-heinich.html
ผู้จัดทำ : นางสาวอภิสรา แก้วรักษา รหัส 5803012755 วิชาเอกภาษาอังกฤษ
นางสาวสุภาคินี ตาทา รหัส 5904029203 วิชาเอกเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น